โทรศัพท์

+123-456-7890

อีเมล์

mail@domain.com

เวลาเปิด

Mon - Fri: 7AM - 7PM

บอระเพ็ด สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่คนไทยรู้จักกันดี

บอระเพ็ดเมื่อเอ่ยชื่อ “บอระเพ็ด” หลายคนคงรู้สึก “ขม” ขึ้นมาทันที แต่เพราะความที่เจ้าบอระเพ็ดมีรสขมนี่ล่ะ ถึงทำให้ตัวมันเต็มเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยามากมาย ดังสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา”

          อย่างเช่น “ราก” สามารถนำไปดับพิษร้อน แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น ช่วยให้เจริญอาหาร “ต้น” ก็ช่วยแก้ไข้ได้เช่นกัน และยังช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ร้อนใน แก้สะอึก แก้เลือดพิการ ส่วน “ใบ” นอกจากจะช่วยแก้ไข้ได้เหมือนส่วนอื่น ๆ แล้ว ยังช่วยแก้โลหิตคั่งในสมอง ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ช่วยลดความร้อน ทำให้ผิวพรรณผ่องใส รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย

          มาถึง “ดอก” ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู “ผล” ใช้แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึกได้ดี แต่ถ้านำทั้ง 5 ส่วน คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล มารวมกัน “บอระเพ็ด” จะกลายเป็นยาอายุวัฒนะเลยทีเดียว เพราะแก้อาการได้สารพัดโรค รวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร ฝีในมดลูก เบาหวาน ฯลฯ

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรรสขม สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ

หวานเป็นลมขมเป็นบอระเพ็ด สมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณเด็ดดวง แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยเจริญอาหาร ของดีที่คนรักสุขภาพพลาดไม่ได้ คำโบราณที่ว่าไว้ หวานเป็นลม ขมเป็นยา เป็นความจริงที่เถียงก็ยาก ดูอย่างบอระเพ็ด สมุนไพรรสขมปี๋ชนิดนี้ ที่ข้างในมีดีอยู่เยอะแยะ มาลองทำความรู้จักสรรพคุณของบอระเพ็ดกันดีกว่า เห็นว่าช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยให้เจริญอาหาร และยังช่วยบรรเทาได้อีกหลายอาการป่วย

บอระเพ็ด กับความเด็ดที่น่าสนใจ
บอระเพ็ดมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Tinospora cordifolia ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ดคือ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f&Thomson จัดเป็นไม้เถาอยู่ในวงศ์ Menispermaceae และนอกจากชื่อบอระเพ็ดแล้ว ในบ้านเรายังเรียกบอระเพ็ดในอีกหลาย ๆ ชื่อ เช่น ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เจตมูลหนาม หรือจุ้งจาลิงตัวแม่

บอระเพ็ดลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างเด่น

 บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ไม่มีขน ยาวได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เปลือกเถาหนา 1.5-2.5 มิลลิเมตร ผิวบอระเพ็ดเป็นสีน้ำตาล เนื้อในมีสีเทาแกมเหลือง เถามีลักษณะกลม ผิวเปลือกเถาขรุขระเป็นปุ่มกระจายไปทั่ว และเมื่อแก่จะเห็นปุ่มปมเหล่านี้หนาแน่นและชัดเจนมาก

          เปลือกเถาบอระเพ็ดมีรสขม ลอกออกได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบบอระเพ็ดมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 8-10 เซนติเมตร ส่วนดอกบอระเพ็ดจะออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ลักษณะดอกบอระเพ็ดมีสีเขียวอมเหลือง ดอกขนาดจิ๋ว ผลรูปร่างค่อนข้างกลม มีสีเหลืองหรือสีแดง

บอระเพ็ด สรรพคุณเด็ดดวง

1. แก้ไข้
    เถาบอระเพ็ดมีรสขมจัด สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทุกชนิด โดยใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ

2. ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร
          ใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ หรือบดเป็นผง ทำให้เป็นลูกกลอนรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า, เย็น    

3. บำรุงกำลัง
ต้นบอระเพ็ดสามารถนำมาต้มเป็นยาขมดื่มบำรุงกำลัง บำรุงธาตุได้ โดยใช้ต้นบอระเพ็ดล้างสะอาด ประมาณ 2 คืบครึ่ง ตำให้แหลกแล้วมาคั้นเอาแต่น้ำไปดื่มบำรุงกำลัง หรือจะต้มตำรับเดียวกับยาลดไข้ก็ได้เช่นกัน

4. รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
ในใบบอระเพ็ดมีสารที่ช่วยรักษาโรคผิวหนัง โดยเฉพาะอาการผดผื่นคัน โดยนำใบบอระเพ็ดล้างสะอาด ตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกตามจุดที่มีผื่นคัน หรือบริเวณผิวที่มีการอักเสบ เพราะสารในใบบอระเพ็ดมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบได้

5. แก้ฝี แก้ฟกช้ำ
ใช้ใบบอระเพ็ดตำให้ละเอียดแล้วมาพอกฝี หรือแก้ฟกช้ำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

6. เป็นยาอายุวัฒนะ
ส่วนทั้ง 5 ของบอระเพ็ด คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล นำมาปรุงยาอายุวัฒนะได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก แก้ร้อนใน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ บำรุงเลือดลม และแก้ไข้จับสั่น เป็นต้น

7. ลดน้ำตาลในเลือด
 ผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า บอระเพ็ดสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยภาวะอ้วนลงพุงที่รับประทานแคปซูลผงบอระเพ็ด ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือยาหลอกเป็นเวลา 2 เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองก่อนรับประทานบอระเพ็ด ทว่าการทดลองเรื่องบอระเพ็ดลดน้ำตาลในเลือดจำเป็นต้องศึกษาลึกไปกว่านี้เพื่อความชัดเจนและถูกต้องของข้อมูล

ขมแล้วยังไง…ถ้าสรรพคุณดีเบอร์นี้ก็น่าลิ้มลองว่าไหมคะ แต่หากใครสนใจกินบอระเพ็ดแคปซูล ก็เตือนไว้นิดว่าอย่ากินติดต่อกันนานนัก อาจส่งผลกระทบกับตับและไตได้

เครดิตเว็บไซต์ ufarich777

อ่านรีวิวกิจกรรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ ติดตามได้ที่ bodysmart-usa

บทความแนะนำ