โทรศัพท์

+123-456-7890

อีเมล์

mail@domain.com

เวลาเปิด

Mon - Fri: 7AM - 7PM

ขมิ้นชัน สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่คนไทยรู้จักกันดี

     ขมิ้นชันเรียกกันทั่วไปว่า “ขมิ้น” เป็นไม้ล้มลุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม คนนิยมนำ “เหง้า” ทั้งสดและแห้งมาใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมทั้งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง และสามารถนำขมิ้นชันมาทาภายนอก เพื่อใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด โรคผิวหนัง พุพอง รักษาชันนะตุ
          นอกจากนั้น ขมิ้นชันยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ “คูเคอร์มิน” ที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตับ อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง หรือใครที่มีแผลอักเสบ ขมิ้นชันก็มีสรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และหากรับประทานขมิ้นชันทุกวัน ตามเวลาจะช่วยให้ความจำดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียยามตื่นนอน และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันสีเหลือง ๆ เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณประโยชน์

และรู้จักกันมาช้านาน โดยเฉพาะคุณประโยชน์ในด้านอาหาร สามารถนำไปประกอบอาหาร หรือแต่งสี แต่งกลิ่น ให้อาหารจานเด็ด ทั้งแกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอด ฯลฯ อู๊ย…ฟังชื่อแล้วชักหิวขึ้นมาซะงั้น
   แต่ช้าก่อน…วันนี้เราไม่ได้ชวนเพื่อน ๆ มาทำอาหารที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบหรอกนะจ๊ะ เพราะเราจะมาพูดถึงสรรพคุณทางยาเด็ด ๆ ของขมิ้นชันกัน พอจะรู้กันไหมเอ่ยว่า ขมิ้นชันช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยอะไรได้บ้าง ถ้ายังนึกไม่ออก ตามไปรู้จักขมิ้นชันให้มากขึ้นกันดีกว่า

“ขมิ้นชัน” หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ “ขมิ้น” คนเชียงใหม่เรียกว่า ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยอก คนตรัง เรียก ขี้มิ้น หรือ หมิ้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกมาด้านข้าง 2 ด้าน ส่วนเนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

          ใบเดี่ยวของขมิ้นชันจะแทงออกมาจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันเป็นรูปหอก ขนาดใบกว้าง 12-15 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองอ่อน แทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ ปกติจะบานครั้งละ 3-4 ดอก รูปกลมมี 3 พู

          เหง้าของขมิ้นชันมีสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์ ซึ่งเป็นสารสีเหลืองประกอบอยู่หลายตัว ทั้งเดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญอย่างเทอร์เมอโรน และซิงจิเบอรีน ซึ่งสารทั้งหมดนี้ช่วยเพิ่มสรรพคุณทางยาให้ขมิ้นชันได้อย่างดี

ขมิ้นชัน สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน

    มาดูสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันกัน ส่วนที่ใช้ก็คือ “เหง้า” ที่มีรสฝาดนั่นเอง โดยเหง้ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ

          ส่วนน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันก็มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียดได้ด้วย จึงนิยมนำขมิ้นมาใช้สมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร

          การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมยังพบว่า ขมิ้นมีสรรพคุณบำรุงร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยขับน้ำนมสตรีหลังคลอดบุตร

อ๊ะ แต่ไม่ใช่ว่าปลูกขมิ้นแล้วจะขุดเหง้าขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเลยนะ เพราะเหง้าที่จะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไปด้วย ไม่เช่นนั้นน้ำมันหอมระเหยจะหายหมด ที่สำคัญต้องเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสงแดดด้วยเช่นกัน และห้ามเก็บเกี่ยวในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันลดลง ซึ่งก็ทำให้สรรพคุณเด็ด ๆ ของขมิ้นชันหายไปด้วย

เครดิตเว็บไซต์ ufarich777

อ่านรีวิวกิจกรรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ ติดตามได้ที่ bodysmart-usa

บทความแนะนำ